วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

กล้วยไม้



กล้วยไม้ หรือ เอื้อง เป็นพืชดอกที่มีความหลากหลายมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง โดยมีประมาณ 880 สกุล และประมาณ 22,000 ชนิดที่มีการยอมรับ(อาจมากกว่า 25,000 ชนิด)[1] คิดเป็น 6–11% ของพืชมีเมล็ด[2] มีการค้นพบราวๆ 800 ชนิดทุกๆปี มีสกุลใหญ่ๆคือ Bulbophyllum (2,000 ชนิด),Epidendrum (1,500 ชนิด), Dendrobium (1,400 ชนิด) และ Pleurothallis (1,000 ชนิด) สายพันธุ์ของกล้วยไม้ที่ขึ้นและเติบโตในป่าเรียกว่า กล้วยไม้ป่า
              กล้วยไม้เป็นพืชซึ่งใช้เป็นตัวอย่างเพื่อการศึกษาทางด้านวิชาการเกี่ยวกับธรรมชาติและชีวิตของพันธุ์ไม้ได้อย่างดี    เนื่องจากกล้วยไม้เป็นพืชวงศ์ใหญ่มาก   ลักษณะทางพันธุศาสตร์จึงมีความแตกต่างกันอย่างกว้างขวาง   และยังมีการกระจายพันธุ์อยู่ในสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่ผิดแผกแตกต่างกันอีกด้วย  ทั่วโลก แม้ว่าจะได้มีการนำกล้วยไม้มาเลี้ยง  และศึกษาวิจัยนานพอสมควรแล้วก็ตาม    แต่ก็ยังได้มีรายงานว่าได้มีการค้นพบและตั้งชื่อทาง พฤษศาสตร์แก่กล้วยไม้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอยู่เสมอ  ดังนั้น นักวิชาการพฤกษศาสตร์สาขาต่างๆ และพืชศาสตร์จึงได้ให้ความสนใจที่จะนำกล้วยไม้มาเป็นพืชตัวอย่างเพื่อการศึกษาและวิจัยในสาขานั้นๆยิ่งไปกว่านั้น    ในสังคมของผู้นิยมเลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรกก็ประกอบด้วยบุคคลในหลายสาขาอาชีพ  ผู้ที่มีความถนัดในสาขาวิชาการใด  ที่จะนำมาใช้พัฒนาการเลี้ยงกล้วยไม้ได้ ก็จะให้ความสนใจนำวิชาชีพที่ตนถนัดมาใช้  ให้เกิดประโยชน์ในการปรับปรุง การเลี้ยงกล้วยไม้ด้วย  สำหรับผู้ที่มิได้อยู่ในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวกับต้นไม้     บางคนมีรสนิยมในการรวบรวมพันธุ์และศึกษากล้วยไม้ป่านานาชนิด     และยังมีการศึกษาค้นคว้าจากตำราต่างๆ อย่างกว้างขวาง   กล้วยไม้จึงเป็นพืชที่สามารถดึงดูดความสนใจจาก คนหลายประเภทให้
ศึกษาวิทยาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับต้นไม้ดอกไม้เป็นอย่างดีจากประโยชน์ที่สังคมได้รับจากกล้วยไม้ดังได้กล่าวมาแล้วทั้งหมด จึงทำให้กล้วยไม้เป็นที่ต้องการในกลุ่มคนโดยทั่วๆไป ดังนั้น  จึงเกิดธุรกิจการค้าเกี่ยวกับกล้วยไม้ติดตามมา  อันเป็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ  ซึ่งมีตั้งแต่ที่เป็นผลพลอยได้จากการ เลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรกในครอบครัวไปจนถึงการประกอบ อาชีพหลักด้วยการเลี้ยงกล้วยไม้    การค้ากล้วยไม้นั้นก็มีการขายทั้งต้นและดอก   การขายต้นจำแนกออกไปได้เป็น  ๒  แนวทางคือเพื่อนำไปปลูกเลี้ยงเป็นงานอดิเรก  นำไปทำพันธุ์เพื่อการขยายออกไป  หรือจำหน่ายไปสู่การปลูกเพื่อตัดดอกเป็นการค้าก็ได้อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการค้ากล้วยไม้ก็จะต้องเข้าใจถึงประโยชน์อันแท้จริงที่กล้วยไม้ได้อำนวยให้แก่สังคมดังกล่าวมาแล้วทั้งหมด  และต้องร่วมมือกันรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ให้ดีที่สุด เพื่อให้ธุรกิจการค้ากล้วยไม้มีความมั่นคงถาวร หรืออาจกล่าวโดย สรุปได้ว่า ผู้ที่มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากกล้วยไม้ควรจะได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้ผู้สนใจเลี้ยงกล้วยไม้ได้รับประโยชน์ จากกล้วยไม้ในทางที่ถูกต้องด้วย
     


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น